พันธกิจของ Islamist Blogger

    

‘บล็อกเกอร์’ เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกผู้จัดทำบล็อกอันเป็นพื้นที่หนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่กำลังโตวันโตคืน  ชวนคุยเรื่องนี้เพราะเห็นว่าในแวดวงคนทำงานอิสลามในสังคมของเรามีการใช้เครื่องมือชนิดนี้เป็นสื่อในการเผยแพร่อิสลามอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว   หลังจากได้ทบทวนการทำงานของตัวเองและใคร่ครวญยามเดินทางท่องไปในชุมชนชาวบล็อกของพี่น้องมุสลิม  ก็พบว่ามีหลายประเด็นเหมือนกันที่คิดได้และน่าจะนำมาแลกเปลี่ยนกัน

 

บล็อกเป็นพื้นที่ในโลกไซเบอร์ที่สามารถจัดสร้างขึ้นได้ง่ายดาย  ไม่เสียค่าใช้จ่าย  และมีลักษณะที่ค่อนข้างเป็นปัจเจก  คือมักสร้างขึ้นและดูแลการนำเสนอโดยคนๆเดียว   ด้วยเหตุนี้จำนวนผู้ใช้บริการบล็อกจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว   และก็เหมือนเครื่องมือหลายๆชิ้นของโลกไซเบอร์ที่มีทั้งคุณและโทษ  วัยรุ่นมุสลิมหลายคนใช้พื้นที่ซึ่งได้มาโดยง่ายนี้เป็นสถานที่สำหรับเพิ่นพูนรายการในบัญชีด้านซ้าย  นับตั้งแต่ จัดแสดงภาพที่ไม่เหมาะสม   นำเสนอข้อความหรือลิ้งค์ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการศาสนา  และอีกสารพัดสารเพที่ชวนให้หัวใจปวดหนึบๆ   ในขณะที่หนุ่มสาวมุสลิมอีกจำนวนหนึ่งก็พยายามใช้พื้นที่นี้เป็นสถานที่สำหรับเพิ่มพูนรายการในบัญชีเบื้องขวา  ด้วยการนำเสนออิสลามในแง่มุมต่างๆให้แก่กลุ่มเป้าหมายของตน   บทความนี้ตั้งใจจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับคนกลุ่มหลังเป็นหลัก  เพราะประสิทธิภาพการทำงานของคนกลุ่มนี้ก็คือการแก้ปัญหาคนกลุ่มแรกในทางหนึ่ง – อินชาอัลลอฮฺ

 

·  เจตจำนงของบล็อกเกอร์

                บล็อกเกอร์มองว่าบล็อกของตนคืออะไร? มีขึ้นทำไม? และต้องการอะไรจากมัน? คือคำถามที่จะกำหนดอะไรหลายๆอย่างให้แก่บล็อกของเรา  ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในด้านรูปแบบหรือเนื้อหา    มันต่างกันแน่นอนระหว่างคนที่มองว่าบล็อกคือไดอารี่ออนไลน์  กับคนที่มองว่าบล็อกคือสนามดะอฺวะฮฺออนไลน์  

ดังนั้นคำถามแรกที่บล็อกเกอร์ควรจะตอบตัวเองให้ได้ก็คือ  เราหวังอะไรจากการสร้างบล็อกนี้  และทุกครั้งที่เราเริ่มสับสนหรือรู้สึกว่าบล็อกของเราเริ่มมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็น  การห่างหายจากการอัพเดทข้อมูล  ไม่พอใจในรูปแบบหรือเนื้อหาที่ตัวเองนำเสนอ   หมดกำลังใจที่ไม่มีคอมเมนท์  ฯลฯ  ลองกลับไปยังเป้าหมายแรกเริ่มของการทำบล็อก  บางที มันอาจทำให้หลายๆปัญหาของเราคลี่คลายลงก็ได้ อินชาอัลลอฮฺ

                สิ่ง ๑ ที่อยากฝากสำหรับตัวเองและบล็อกเกอร์ทุกคนที่หวังแน่วแน่ว่าพื้นที่ตรงนี้จะเป็น ๑ ในเครื่องมือสำหรับภารกิจการทำงานเพื่ออิสลาม  ก็คือ  ความบริสุทธิ์ใจในการทำงาน  มันน่ากลัวมากเลยนะถ้าเราจะต้องสูญเสียเวลาและอะไรอีกหลายๆอย่างในการทำบล็อกนี้ไปเพื่อแลกกับเพียงคำชื่นชมของผู้คนซึ่งไม่มีน้ำหนักอะไรเลยในตราชั่ง – นะอูซุบิลลาฮิมินซาลิก  ฉะนั้นพึงทบทวนตัวเองในทุกๆการกระทำ  และจงนำเสนอเฉพาะสิ่งที่เราหวังว่าจะได้พบมันในวันกิยามะฮฺด้วยความภาคภูมิ

 

 

· งานของบล็อกเกอร์

 

                หากตัดสินใจแน่แล้ว  ว่าบล็อกของเราควรถูกใช้ไปในหนทางที่จะเพิ่มรายการในบัญชีเบื้องขวาให้แก่เรามากกว่าจะเป็นเพียงไดอารี่ออนไลน์ที่บันทึกวัตรประจำวันไปเรื่อยเปื่อยอย่างที่คนส่วนมากนิยมทำ   เราอาจต้องกำหนดเนื้องานที่หนักแน่นและชัดเจนมากขึ้นให้แก่บล็อกของเรา

                ที่จริงแล้วยังมีงานอีกมากมายที่บล็อกเกอร์นักทำงานอิสลามสามารถหยิบจับนำเสนอให้แก่สังคม  ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการตักเตือนกันในเรื่องที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยังพลาดพลั้ง   การขัดเกลาจิตใจ   การตอบคำถามให้แก่ต่างศาสนิก  การวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสังคมและนำเสนอทางแก้ไขในอิสลาม  ตลอดจนความรู้แขนงต่างๆที่จะมีประโยชน์ต่อโลกนี้และโลกหน้าของเราเองและคนในสังคม   บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้รู้  แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่จะขัดขวางเราจากการนำเสนอความรู้  และบล็อกเกอร์ส่วนใหญ่ก็เหมือนมนุษย์ทั่วไปที่ไม่มีวันจะพูดได้ว่าตัวเองดีแล้ว  แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขัดขวางเราจากการชักชวนให้คนอื่นทำความดี   ที่จริงแล้วการนำเสนอความรู้ก็คือการเรียนรู้ของเราไปในขณะเดียวกัน  และการย้ำเตือนผู้อื่นให้กระทำความดีก็คือการย้ำเตือนตัวเราเองไปในขณะเดียวกัน 

                ในต่างประเทศ  มีบล็อกเกอร์จำนวนมากที่กำหนดงานของบล็อกตนไว้ในหัวเรื่องใหญ่ ๆ เพียงเรื่องเดียว  อย่างบางบล็อกที่ทำเรื่องผู้ถูกคุมขังมุสลิม  ก็นำเสนอแต่เฉพาะเรื่องนี้  รวบรวมเฉพาะข่าวคราวของผู้ถูกคุมขังทั้งรายใหม่และเก่าจากทั่วโลก(เชื่อไหมว่าบล็อกนี้มีข้อมูลมาอัพเดททุกวัน)   บางบล็อกเน้นเรื่องครอบครัวมุสลิม  บางบล็อกทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแก่นแท้ของชีอะฮฺไว้อย่างครบครัน  แม้แต่บล็อกที่เน้นเรื่องญิฮาดก็แยกย่อยออกเป็นสมรภูมิต่างๆ  มีทั้งบล็อกที่อัพเดทข่าวจากอิรัก  อัฟกัน  เชชเนีย ฯลฯ  ข้อดีก็คือเราสามารถค้นคว้าข้อมูลในเรื่องที่สนใจได้อย่างตรงไปตรงมาและค่อนข้างละเอียด  อย่างถ้าอยากตามข่าวพี่น้องที่ถูกคุมขังก็สามารถไปที่บล็อกที่รวบรวมเรื่องนี้ได้เลย  ไม่ต้องไปข้องแวะกับข้อมูลส่วนอื่น  แต่ในบ้านเราคงทำอย่างนั้นได้ยาก  เพราะข้อจำกัดในด้านภาษาของแหล่งข้อมูล(ต้องขยันแปลมากๆถึงจะมีข้อมูลมาอัพเดทบ่อยๆ  เพราะแหล่งข้อมูลภาษาไทยมีน้อยมากไม่ว่าประเด็นไหน)   ฉะนั้นเราอาจไม่ต้องทำถึงขั้นที่ว่า  เพียงแต่สำรวจความถนัดของตนเอง  และเรียงลำดับเรื่องจำเป็นที่เห็นว่าควรนำเสนอแก่สังคมก่อน

                โดยสรุป  งานประการแรกๆของบล็อกเกอร์มุสลิมนักเคลื่อนไหวก็คือการดะอฺวะฮฺผู้คนไปสู่อิสลาม  เนื้อหา  รายละเอียด  หรือแม้แต่ซุ่มเสียงที่ใช้ในการเรียกร้องนี้ก็ถือเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องพิจารณาเลือกทำในสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุด  ฟังดูเครียดจัง-ว่าไหม?  แทนที่เราจะทำบล็อกสบายๆ  บอกกล่าวเล่าเรื่องจิปาถะตามแต่พอใจซึ่งน่าจะมีความสุขดีอยู่แล้ว  ทำไมเราต้องมาทำให้บล็อกกลายเป็นงานซีเรียสถึงขั้นนี้ด้วย?  คำตอบก็คือเพราะเรากำลังพูดถึงบล็อกของนักทำงานอิสลาม  ไม่ใช่บล็อกของคนทั่วไป  คนที่เรากำลังพูดถึงคือคนที่รู้ดีว่าชีวิตของเขาทั้งหมดทุกวินาทีเป็นของใคร  และเขาต้องใช้มันให้หมดไปในทางไหน  ความเรื่อยเปื่อยจึงไม่น่าจะใช่แนวทางการทำงานของคนชนิดนี้  อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าบล็อกเกอร์ทุกคนจะต้องลุกขึ้นมาพูดปลุกใจด้วยท่วงทำนองของทหารฝึกรบ  เราสามารถเลือกใช้กลวิธีใดในการนำเสนอก็ได้  หากอัลลอฮฺให้ความสามารถเรามาในการเลือกสรรปั้นแต่งตัวอักษร  แต่ทั้งหมดทั้งปวงควรจะเป็นไปบนเป้าหมายที่จริงจังและชัดเจน

                สิ่งสำคัญก็คืออย่าให้บล็อกเป็นงานดะอฺวะฮฺเพียงช่องทางเดียวในชีวิตเรา  อย่าลืมคนในครอบครัว   เพื่อนบ้าน และมนุษย์รอบๆตัวที่มีชีวิตอยู่นอกจอแก้ว   หากรักจะเป็นดาอีย์  ก็ต้องเป็นในทุกวินาทีของชีวิต  ไม่ใช่เฉพาะช่วงเวลาที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์แต่เท่านั้น

 

               

· บล็อกเกอร์กับความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ

 

อย่างที่บอกไปแล้วแหละว่าบล็อกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้รู้  แต่เป็นนักเรียนรู้  แม้การนำเสนอข้อมูลส่วนใหญ่ของบล็อกเกอร์ในบ้านเราจะเป็นในเชิงปลุกใจ หรือตักเตือนในภาพรวมมากกว่าจะให้รายละเอียดที่ลึกซึ้งในทางวิชาการ   แต่การนำเสนอข้อมูลหลายๆครั้งก็อาจมีข้อผิดพลาดได้  ส่วนตัวแล้วจึงรู้สึกดีหากใครสักคนเข้ามานะซีฮะฮฺเราในส่วนที่นำเสนอผิดพลาดไป  หรือเข้ามาเสนอความเห็นต่างในประเด็นที่ใครก็มีสิทธิจะเห็นต่างได้(ถ้ากลัวจะฟิตนะฮฺ  ก็สามารถเลือกช่องทางที่เป็นส่วนตัวอย่างการส่งข้อความหลังไมค์ก็ได้)   เรื่องนี้เป็นอีกประเด็นที่อยากพูดถึงมาหลายครั้ง  คือเราน่าจะมีทัศนคติที่ดีต่อสังคมแห่งการวิพากษ์(บนมารยาทที่สอดคล้องกับซุนนะฮฺ)  เคยคิดอยากจะเขียนแปะไว้บนบล็อกด้วยซ้ำว่า “ถือเป็นอะมานะฮฺของผู้ที่เข้ามาอ่านบล็อกนี้ที่จะต้องบอกกล่าวให้ผู้ทำบล็อกทราบ  หากท่านพบสิ่งใดไม่สอดคล้องกับหลักการอิสลามถูกนำเสนอในบล็อกนี้”  แต่ดูจะเป็นการเขวี้ยงภาระลงโครมบนบ่าของคนอ่านอย่างหนักไปหน่อยเลยละไว้เสีย  

                ในส่วนของการก็อปปี้ข้อความจากแหล่งอื่นมานำเสนอ  ส่วนตัวเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าควรจะอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน  เรื่องมารยาทไม่ได้เป็นเหตุผล(สำหรับตัวเอง)มากไปกว่าการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของเนื้อหา  อย่างถ้าใครเอาบทความของเราไปเผยแพร่ต่อก็ไม่ได้รู้สึกว่าเขาเสียมารยาทอะไรหากไม่ได้อ้างอิงที่มา   แต่ก็ชอบมากกว่าที่จะมีการอ้างอิงเผื่อใครพบข้อผิดพลาดจะได้สามารถแจ้งให้เราทราบข้อผิดพลาดนั้นได้  มันคือความรับผิดชอบที่บล็อกเกอร์ทุกคนต้องแบกรับ  ไม่มีคำว่าหน้าแตกอะไรเลยสำหรับการถูกชี้แจงข้อผิดพลาด  เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมมีข้อผิดพลาด  และผู้ผิดพลาดที่ดีที่สุดก็คือผู้ที่ปรับปรุงแก้ไข  แต่เราจะปรับปรุงแก้ไขได้อย่างไรหากไม่มีคนชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดนั้น 

                อีกความรับผิดชอบนึงที่บล็อกเกอร์ควรต้องตระหนักไม่ต่างจากดาอีย์ในวิถีทางอื่นๆ  ก็คือการนำสิ่งที่เราเรียกร้องคนอื่นมาใส่ไว้ให้ได้ในชีวิตของตนเอง  เราอาจทำได้ยังไม่สมบูรณ์แต่ก็ต้องมีความมุมานะเสมอที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นไปเรื่อยๆ  ในแง่นี้การทำงานเพื่ออิสลามผ่านบล็อกจึงกลายเป็นการขัดเกลาตัวเราเองไปโดยปริยาย   นี่คือความเมตตาที่อัร-เราะฮฺมานให้กับผู้ทำงานเพื่อศาสนาของพระองค์ – อัลฮัมดุลิลลาฮฺ

· ชุมนุมของนักทำงานบนโลกไซเบอร์

 

                การทำบล็อกสามารถทำให้เรารู้จักพี่น้องมุสลิมเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน  แม้ความเป็นพี่น้องที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เหนียวแน่นมากเท่าการรู้จักพบเจอกันโดยตรง  แต่มันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำไปสู่การสร้างความเป็นพี่น้องที่แนบแน่นยิ่งขึ้นในโอกาสต่อๆไป  โดยเฉพาะบล็อกที่มีการนำเสนอเรื่องราวในทำนองเดียวกัน  เป็นต้นว่ามีลักษณะที่แสดงให้เห็นเจตนาในเชิงดะอฺวะฮฺเหมือนๆกัน   เราจะมีความรู้สึกร่วมกันบางอย่างเมื่อได้พบเจอตัวจริง(จากประสบการณ์ตรง)   และทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการทำงานรับใช้อิสลามทั้งในอินเตอร์เน็ตที่เห็นๆกันอยู่ และในชีวิตจริงของแต่ละคนเป็นไปได้อย่างไม่ค่อยเก้อเขินเท่าไหร่   นี่คือข้อดีประการ๑ของการทำบล็อกแบบเปิดเผยตัวตน  คือเมื่อยามที่ไปพบปะผู้คนนอกสถานที่  เราก็สามารถทำความรู้จักกันได้เร็วขึ้นเนื่องจากรู้จักกันผ่านบล็อกมาในระดับ๑แล้ว  หากผู้อ่านพบข้อติดใจจากเนื้อหาที่เคยนำเสนอในบล็อกและเห็นควรซักถามหรือตักเตือนก็สามารถทำได้โดยตรงในโอกาสแบบนี้   อย่างไรก็ตามสำหรับบล็อกเกอร์มุสลิมะฮฺก็มีสิ่งที่พึงระวังเหมือนกันในประเด็นนี้  ดังจะพูดถึงในหัวข้อต่อไป

                การติดต่อสัมพันธ์(โดยเป็นไปตามขอบเขตของหลักการอิสลาม)ระหว่างบล็อกเกอร์ในโลกไซเบอร์นอกจากจะมีส่วนในการทำความรู้จักระหว่างคนทำงานที่ยากจะรู้จักกันในชีวิตจริงแล้ว   ยังอาจนำไปสู่การช่วยกันดูแลตรวจสอบข้อมูลที่นำเสนอในบล็อกให้แก่กันและกันได้   รวมทั้งรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมบางอย่างทั้งในชีวิตจริง เช่นพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็นการทำงานดะอฺวะฮฺทางอินเตอร์เน็ต  หรือตักเตือนกันในประเด็นที่สงสัยคาใจจากเรื่องที่ถูกนำเสนอในบล็อก  และในโลกอินเตอร์เน็ต  เช่น การรวมกลุ่มบล็อกภายใต้หัวข้อการรณรงค์บางอย่าง   ในต่างประเทศเคยมีบล็อกเกอร์มุสลิมกลุ่ม๑ ที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ภายใต้แคมเปญ “Anti Imperialism” โดยเขาจะมีโลโก้ที่เขียนว่า  “Anti Neo-Imperialism Bloggers” (บล็อกเกอร์ผู้ต่อต้านจักรวรรดินิยมสมัยใหม่)  ติดไว้ที่บล็อกของทุกบล็อกเกอร์ที่เข้าร่วม  ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขามีการตกลงเกี่ยวกับรายละเอียดของเนื้อหาที่ถูกนำเสนอในบล็อกของผู้เข้าร่วมให้สอดคล้องกับแคมเปญอย่างไรหรือไม่  แต่หากมองอย่างผิวเผินที่สุด  การแสดองออกในลักษณะนี้ก็แสดงให้เห็นพลังบางอย่างที่คงยากจะมองเห็นได้หากบล็อกเกอร์ต่างอยู่กันแบบตัวใครตัวมัน

                ในบ้านเรา  มีบล็อกเกอร์มุสลิมอยู่จำนวนไม่น้อยที่ต้องการใช้บล็อกของตัวเองเป็นแนวทาง๑ในการทำงานรับใช้อิสลาม  เรามีการปฏิสัมพันธ์กันอยู่บ้างทั้งในอินเตอร์เน็ตและชีวิตจริงซึ่งมีประโยชน์อยู่ไม่น้อยเลย  อย่างการได้พูดคุยระหว่างบล็อกเกอร์มุสลิมะฮฺหรือแม้แต่กับคนอ่านที่เป็นมุสลิมะฮฺด้วยกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือตักเตือนกันในสิ่งที่พลาดพลั้งไปในการนำเสนอ   ก็ล้วนเป็นเรื่องดีๆที่ทำให้เกิดการพัฒนาบล็อกของเราทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบ   ในอนาคต  เราอาจมีการรวมกลุ่มกันทำอะไรที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  และเพื่อให้แนวทางที่จะใช้บล็อกเป็นสื่อในการดะอฺวะฮฺนั้นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น  อินชาอัลลอฮฺ

 

 

· มุสลิมะฮฺกับบล็อก

 

                เราเคยคุยกันอย่างจริงจังในหมู่มุสลิมะฮฺผู้ชอบคิด(มาก)  ถึงความเหมาะสมที่มุสลิมะฮฺจะทำบล็อก  โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับขอบเขตในการเปิดเผยตัวตน  ตลอดจนเนื้อหาและน้ำเสียงที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล

                คงต้องบอกก่อนว่าที่จริงแล้วอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับมุสลิมะฮฺในการทำงานศาสนามากเพราะสามารถใช้การได้แม้อยู่กับบ้าน   แต่หากพูดเจาะจงลงมาในเรื่องบล็อกก็ดูจะมีอันตรายล่อแหลมหลายเรื่องให้พึงระวัง   แน่นอนว่ามันคงเป็นการปลอดภัยที่สุดหากเราจะทำงานนี้โดยไม่เปิดเผยตัวตนที่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร  แต่ก็ต้องยอมรับว่าในแวดวงคนทำงานบ้านเราที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด  มันเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย  เราอาจเริ่มต้นโดยการใช้นามปากกาอะไรสักอย่างที่ไม่ระบุตัวตน  แต่โดยสภาพของสังคมและ/หรืออาจเป็นสภาพของมนุษย์โดยทั่วไปนั่นแหละที่จะชอบเอาใจใส่กับ Messenger (ผู้ส่งสาร) เท่าๆกับหรือบางทีก็มากซะยิ่งกว่า Message (สาร)   คำถามทำนองที่ว่า ‘ใครเขียนอันนี้’  ‘ใครทำอันนั้น’  ‘ใครพูดอันโน้น’ และอีกสารพัดใคร  จึงอาจนำความวุ่นวายมาสู่มุสลิมะฮฺได้มากยิ่งกว่าการระบุตัวตนไปเสียเลย(ในบางกรณี)    ดังนั้น การที่ผู้คนจะรู้ว่าคนทำบล็อกเป็นใครอาจเป็นเรื่องที่มุสลิมะฮฺต้องทำใจไว้แต่แรกแม้ไม่ปรารถนา   มันอาจไม่ใช้ข้อถูก-ผิดตายตัวในหลักการศาสนาหรอก  หากในความเป็นมุสลิมะฮฺ  เราทุกคนก็ล้วนไม่ต้องการจะเป็นที่พูดถึงโดยสาธารณะแม้ในเรื่องดีงาม(ประมาณว่าพูดแต่เรื่อง ไม่ต้องเจาะจงคนก็จะดี)  เราต้องลองชั่งดูว่าสิ่งที่เสียไปกับได้มาอะไรมันมากกว่ากัน  ความวุ่นวายจากการถูกระบุตัวตน(หากมันไม่มากเกินไป)อาจเป็นราคาที่เราต้องยอมจ่าย  เมื่อเห็นว่ามันคุ้มแก่กำไร

                ถึงอย่างนั้น  เราก็สามารถหาช่องทางเซฟตัวเองในหลายๆด้านเท่าที่ทำได้  (บอกก่อนว่าในประเด็นนี้ ตัวเองก็ยังทำได้ในระดับที่ไม่น่าประทับใจเอามากๆ  แต่ต้องขอนำเสนอเพื่อเตือนตัวเองและเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ-อินชาอัลลอฮฺ )  เป็นต้นว่า  หลีกเลี่ยงที่จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง  แน่นอนว่าการนำเสนอความคิด  หรือแม้แต่แค่เรื่องที่เราเลือกมาแปล หรือเลือกก็อปปี้มานำเสนอ  ก็สามารถบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับตัวเราได้บางอย่าง  แต่มันก็เป็นแง่มุมที่ไม่สุ่มเสี่ยงอะไรนัก  สิ่งที่ต้องระวังก็คือการนำเสนอข้อมูลที่ค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวอย่างรสนิยม  ความชอบ  นิสัยใจคอ ฯลฯ โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ได้มีประโยชน์ในเชิงดะอฺวะฮฺสักเท่าไหร่   ส่วนการเล่าเรื่องประสบการณ์ที่ได้พบเจอในชีวิตก็อาจพิจารณาเป็นเรื่องๆไป  โดยเอาความบริสุทธิ์ใจและประโยชน์ที่คาดว่าคนอ่านน่าจะได้รับเป็นหลักในการพิจารณา  เรื่องไหนที่มีการระบุความเป็นตัวเรามากเกินไป  ในขณะที่ประโยชน์ในเชิงดะอฺวะฮฺยังไม่ชัดเจนสักเท่าไหร่  ก็อาจต้องตัดๆไปซะบ้าง

                ว่ากันตามจริง การทำบล็อกของมุสลิมะฮฺมีประโยชน์มากนะ  โดยเฉพาะในประเด็นที่มุสลิมีนไม่สามารถจะนำเสนอได้โดยประสบการณ์ตรง  อย่างเรื่องเกี่ยวกับการแต่งกายของมุสลิมะฮฺ  การดำเนินชีวิตของมุสลิมะฮฺในสังคม  มุมมองต่อเฟมินิสม์  การเลี้ยงลูกและดูแลครอบครัว ฯลฯ   แต่บล็อกเกอร์มุสลิมะฮฺก็ต้องดูแลตัวเองด้วย  ทั้งหัวใจและความปลอดภัยอื่นๆของชีวิต  พึงหลีกเลี่ยงการนำเสนอข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวเกินไปในที่สาธารณะ  เพราะหลาย ๆ แง่มุมในชีวิตของมุสลิมะฮฺนั้นถูกตั้งค่าการรับรู้ไว้สำหรับ‘บางคน’ไม่ใช่‘ทุกคน’    

 

 

· ญิฮาดและสถานการณ์โลกมุสลิมกับบล็อกของคนรุ่นใหม่

 

                วันแรกๆหลังการประกาศหยุดยิงระหว่างฮามาสกับรัฐบาลยะฮูดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทีข่าวชิ้นเล็กๆชิ้น๑ในสื่อต่างประเทศว่ารัฐบาลยิวเห็นชอบที่จะใช้บล็อกของประชาชนชาวยะฮูดียฺเป็นอีกแนวทางสำหรับประชาสัมพันธ์ให้โลกได้รับรู้ถึงความชอบธรรมของปฏิบัติการสังการหมู่ที่เพิ่งยุติลง(ชั่วคราว)

                ช่วงปลายปี๒๐๐๘ที่ผ่านมามีบล็อกเกอร์มุสลิมชาวอเมริกันคน๑ ถูกจับกุมตัวขณะกำลังจะเดินทางออกนอกประเทศไปทำงานในซาอุดีอารเบีย  แม้ว่าข้อหาที่ทำให้เขาถูกจับกุมจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับบล็อกที่เขาเขียน (ตามคำอ้างของเอฟบีไอ  เขาถูกจับกุมเพราะเคยให้ปากคำว่าไม่ได้ติดต่อเพื่อนมุสลิมชาวอเมริกันอีกคนที่ถูกจับกุมไปก่อนหน้าเนื่องจากมีแผนจะเดินทางเข้าไปร่วมต่อสู้ในโซมาเลีย  แต่เอฟบีไอมีหลักฐานว่าบล็อกเกอร์คนนี้ได้ติดต่อกับพี่น้องมุสลิมคนดังกล่าว)  แต่เนื่องจากบล็อกของเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง (เป็นบล็อกที่เน้นแปลบทความภาษาอาหรับจากหนังสือของอุละมาอฺคนสำคัญๆออกมาเป็นภาษาอังกฤษ  ในบล็อกแนวญิฮาดิสของพี่น้องเราที่เมืองไทยหลายๆบล็อกก็เห็นติดลิ้งค์บล็อกของเขาไว้ ลองไปค้นๆดูได้)  จึงทำให้เรื่องของเขาเป็นที่สนอกสนใจของพี่น้องจำนวนมาก  และน่าจะมีส่วนไม่มากก็น้อยที่ทำให้เขาถูกปล่อยตัวออกมาในเวลาไม่นาน

                สองข่าวที่ยกมาคือตัวอย่างสดๆร้อนๆที่แสดงให้เห็นบทบาทของบล็อกที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ  ซึ่งแม้แต่ศัตรูของเราก็ยังมองเห็นและนำบทบาทนี้มาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนความอธรรมของตนเอง  นอกจากนั้นก็ยังมีบล็อกของพี่น้องมุสลิมชาวตะวันตกอีกบางบล็อกที่นำเสนอข่าวคราวความเคลื่อนไหวของมุญาฮิดีนอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา  จนกระทั่งถูกปิดบล็อกไปไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง  เปลี่ยนที่อยู่และชื่อบล็อกมาไม่รู้กี่หนต่อกี่หน  แต่ก็ยังยืนหยัดนำเสนอข้อมูลในลักษณะเดิมจนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง  ถึงขนาดว่าสถานีข่าวชั้นนำของตะวันตกต้องทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับบล็อกนี้  มันคือปรากฏการณ์ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มระดับความสำคัญและความน่าสนใจมากขึ้นทุกที  จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้เราจะเริ่มได้ยินการพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับ “การญิฮาดในสนามอิเล็คโทรนิกส์” บ่อยครั้งขึ้น

                ในระยะหลังมา  อินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่มุญาฮิดีนใช้สำหรับนำเสนอผลงาน  ประกาศแถลงการณ์  หรือรายงานความเคลื่อนไหวต่างๆของพวกเขาทั้งในรูปบทความ  รูปภาพ  ไฟล์เสียง  และคลิปวีดีโอ  แม้ว่าความเกี่ยวพันระหว่างสมรภูมิญิฮาดกับโลกอินเตอร์เน็ตดูจะมีความชัดเจนและมองเห็นได้ง่ายเช่นนี้  แต่ก็มีประเด็นและรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่น่าสนใจควรนำมาพูดคุยกัน   หาก ณ ที่นี้เราคงจะเจาะลงมาพูดเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับบล็อกเกอร์ว่าจะมีส่วนอย่างไร และแค่ไหนในภารกิจอันหนักอึ้งหากสูงส่งที่กำลังดำเนินอยู่

                ในต่างประเทศ  บล็อกเกอร์หลายๆคนได้ทำให้บล็อกของเขาเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บสะสมข่าวคราวและผลงานของมุญาฮิดีน  ความรู้ตามหลักการอิสลามเกี่ยวกับการญิฮาด  ตลอดจนเวทีสำหรับถกอภิปรายกับทั้งมุสลิมและต่างศาสนิกในประเด็นเกี่ยวกับการญิฮาด  แน่นอนว่าการที่เลือกโทนของบล็อกตัวเองแล้วว่าจะดำเนินไปในทำนองนี้  อาจต้องแลกมาด้วยอายุของบล็อกที่อาจหดสั้นกว่าบล็อกโทนอื่นๆ  ตลอดจนการสูญเสียความปลอดภัยบางอย่างในชีวิตส่วนตัวของผู้ทำบล็อกเอง  แต่คนที่เลือกเช่นนั้นก็คงได้ชั่งแล้วว่ามันคุ้ม  ความเสี่ยงที่จะถูกโยนเข้าคุกอาจเป็นที่พอใจสำหรับบางคนมากกว่าความเสี่ยงที่จะถูกโยนเข้านรก  และเมื่อชั่งได้แล้วเช่นนั้น  มันก็ไม่มีอะไรจะต้องกลัว

                หากเราเป็นคน๑ที่พอใจและปรารถนาที่จะเอาตัวเองและบล็อกของตนเข้าไปมีส่วนร่วม(แม้อย่างหลวมและเล็กน้อยที่สุด)กับภารกิจแห่งญิฮาดที่กำลังดำเนินไปในประชาชาติของเรา  สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงประการแรกๆก็คือความใสสะอาดของเจตนา และความสว่างไสวของความรู้   สังคมที่มีการนำเสนอเรื่องญิฮาดและสถานการณ์พี่น้องมุสลิมอย่างกระพร่องกระแพร่งอยู่แล้วของเรา  คงไม่ได้ต้องการเวทีสำหรับระบายอารมณ์ขุ่นแค้นที่เรามีต่อศัตรูออกมาเป็นคำพูดหยาบกร้าวมากไปกว่าเวทีสำหรับชี้แจงอย่างกระจ่างให้เห็นถึงแก่นแห่งความผิดพลาดต่ำทรามของศัตรู   แก่นแท้แห่งการต่อสู้ของมุญาฮิดีน(ที่มักตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับข้อมูลจากแหล่งข่าวตะวันตก)   ตลอดจนความรู้ทั้งในแง่หลักการและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆเหล่านี้ 

                บางคนอาจมองว่าการนำเสนอข่าวสารโลกมุสลิมและรายละเอียดต่างๆอันเกี่ยวเนื่องกับการญิฮาดเป็นประเด็นไกลตัวเกินไป  และอาจทำให้บล็อกของเราดูดุดันเกินกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าถึง   หากที่จริงแล้ว  ในขณะที่ข่าวสารของมุญาฮิดีนถูกทำให้เป็นเรื่องห่างไกลสำหรับเรา  ฝ่ายข่าวฝั่งโจมตีมุญาฮิดีนกลับทำให้ข่าวของเขาเป็นเรื่องใกล้ตัวเราตลอดเวลา   การที่เรามองว่าความเป็นไปของพี่น้องในต่างแดนเป็นเรื่องไกลตัวก็คือ๑ในข้อยืนยันถึงการมีอยู่และผลสำเร็จของงานที่พวกเขาทำ   ส่วนเรื่องเกี่ยวกับภาพพจน์ของบล็อกที่อาจดูแข็งกร้าวมากเกินไปอันน่าดังวลว่าจะมีผลต่อการทำงานส่วนอื่นๆนั้นสามารถตอบอย่างกว้างๆได้ว่า  บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเรียนรู้ที่จะรับสารที่มีลักษณะจริงจังและหนักหน่วงได้   เพราะประชาชาติของเราในวันนี้สมควรแก่เวลาแล้วที่จะเมินหน้าใส่ความเหลาะแหละหน่อมแน้ม   อีกอย่าง เรื่องเบาๆอ่านสบายๆแต่ได้สาระ(ในระดับ๑)นั้นสามารถหาอ่านได้อย่างไม่ขาดแคลนนักในท้องตลาดอินเตอร์เน็ตบ้านเรา   แต่เรื่องหนักๆอย่างประเด็นเกี่ยวกับการญิฮาดและสถานการณ์พี่น้องมุสลิมดูจะยังขาดแคลนอยู่มากนัก   อย่างไรก็ตามหากบล็อกเกอร์มีความสามารถที่จะนำเสนอเรื่องหนักๆนี้ด้วยกลวิธีที่มีฮิกมะฮฺหน่อย  เน้นความรู้และขอเท็จจริงมากกว่าอารมณ์  ก็จะเป็นการดียิ่ง  ที่สำคัญก็คือต้องอย่าลืมว่าท้ายที่สุดแล้วการญิฮาดที่สูงส่งและมีเกียรติที่สุดก็คือการญิฮาดด้วยชีวิตและทุกสิ่งที่ชีวิตมีในสมรภูมิจริง  ดังนั้นอย่าให้การทำงานช่วยเหลือการญิฮาดในโลกไซเบอร์ของเราทำให้เรารู้สึกเพียงพอต่อภารกิจนี้ จนเมินเฉยที่จะก้าวต่อไปสู่สมรภูมิจริงเป็นอันขาด

 

 

                กล่าวโดยรวมๆ  บล็อกคือมุมหนึ่งในโลกอินเตอร์เน็ตอันไร้เส้นเขตแดนที่เราสามารถใช้ทรยศต่อดีนของเราด้วยการฝ่าฝืนคำสั่งต่างๆของอัลลอฮฺได้เท่าๆกับที่สามารถใช้มันช่วยเหลือดีนนี้อย่างสุดความสามารถ   ทุกวันนี้เรามีบล็อกเกอร์มุสลิมอยู่จำนวนไม่น้อยที่มีความปรารถนาจะใช้บล็อกของตนให้เกิดประโยชน์อย่างประการหลัง   หากเราจริงใจและจริงจังกับความมุ่งหวังนี้   งานการทำบล็อกที่ใครอาจมองว่าไร้สาระและเสียเวลาก็อาจเป็นที่มาของความดีนับไม่ถ้วน  และอุมมะฮฺของเราก็อาจได้ประโยชน์มหาศาลจากงานชิ้นนี้-อินชาอัลลอฮฺ    อย่างไรก็ตาม  เราก็ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าทุกคำที่เราเขียนก็คือทุกคำที่เราจะถูกบันทึก ไม่ใช่แค่ตัวอักษรที่พิมพ์หากแม้แต่เจตนาในหัวใจขณะที่พิมพ์   ดังนั้นพึงระวัง  พึงระวัง  พึงระวัง   และโปรดระลึกเสมอว่าอิสลามคือระบอบที่ครอบคลุมทุกรายละเอียดของชีวิต  ไม่ใช่เฉพาะยามที่เรานั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์  ดังนั้นอย่าได้ละเลยที่จะเป็นบ่าวผู้กตัญญูในยามลุกออกจากหน้าจอไปแล้ว  บล็อกเกอร์ที่เป็นดาอีย์อย่างแท้จริงไม่ใช่บล็อกเกอร์ที่ทำให้บล็อกของเขาเป็นเครื่องมือในการดะอฺวะฮฺได้เท่านั้น   แต่คือบล็อกเกอร์ที่สิ่งซึ่งเขาดะอฺวะฮฺในบล็อกนั้นได้ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิตของเขาด้วย – หวังว่าเราต่างจะถูกนับเป็นหนึ่งในบล็อกเกอร์ประเภทที่ว่านี้  อินชาอัลลอฮฺ  

 

 

แนะนำโปรแกรมDD

Jihadee Resources

 

           

            มีโปรแกรมเกี่ยวกับการญิฮาดที่เคยดาวน์โหลดมา 2 ตัว  ซึ่งรู้สึกว่ามีประโยชน์มากทั้งในแง่การทำงานเชิงข้อมูล  และการค้นคว้าหาความรู้ส่วนตัว (ขออัลลอฮฺตอบแทนพี่น้องที่เป็นผู้ผลิตและเผยแพร่มัน ด้วยรางวัลอันมากมาย)  ตั้งใจไว้นานแล้วว่าจะเอามาแบ่งปันกับพี่น้อง  เพราะแหล่งข้อมูลที่ไปดาวน์โหลดมา ตอนนี้ก็ไม่อยู่แล้ว  แต่ก็ติดนู่นติดนี้ไม่ได้เอามาลงสักที    วันนี้สบโอกาสดี-อัลฮัมดุลิลลาฮฺ  เลยเอามาแบ่งปันกัน  ด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องผู้สนใจ  และตัวเองอาจได้รับความดีจากการนำมาเผยแพร่บ้าง อินชาอัลลอฮฺ

                หมายเหตุ  ทั้งสองโปรแกรมมีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ และทำมาเป็นไฟล์ซิป .rar ค่ะ

………………………………………………………………….

 

1. Book of Martyrs

           

 

 

               โปรแกรมนี้ถ้าแปลเป็นไทยตรง ๆ ก็คงจะได้ชื่อว่า หนังสือของเหล่าชุฮะดาอฺ แต่ความจริงมันเป็นมากกว่าหนังสือ  คือมีลักษณะคล้ายหน้าเว็บ ๆ หนึ่งซึ่งมีหัวข้อหลากหลายให้กดเข้าไปดูต่อ  ทั้งประวัติศาสตร์แผ่นดินญิฮาดหลาย ๆ ผืน  ชีวประวัติมุญาฮิดีนและมุญาฮิดะฮฺ  รวมทั้งบทความและหนังสือเกี่ยวกับการญิฮาดจำนวนหนึ่ง

                อย่างไรก็ตาม  เนื้อหาที่เด่นที่สุดของโปรแกรมนี้ในแง่ความละเอียดและความหลากหลายก็คือชีวประวัติของชุฮะดาอฺจำนวนหลายร้อยคนจากหลายสมรภูมิ(ดูในหัวข้อ Land of Jihad) ไม่ว่าจะเป็น อัฟฆอนิสตาน อิรัก ฟิลัสตีน ชีชาน บอสเนีย แอลจีเรีย โซมาเลีย และอื่นๆ  ซึ่งส่วนมากแล้วจะแปลมาจากภาษาอาหรับ โดยหากเป็นชุฮะดาอฺคนสำคัญที่มีบทบาทมากในสมรภูมิ ก็จะมีรายละเอียดอิ่น ๆ เพิ่มเติมไว้ด้วย  เช่นบทสัมภาษณ์,งานเขียนของเขา  หรือบทความที่มุญาฮิดีนคนอื่นเขียนถึงเขา  เป็นต้น

               

Download Book of martyrs

http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=150371886FNNTAF[9RBWBII4H5NW9J

http://www.wikiupload.com/download_page.php?id=96507

http://www.fileflyer.com/view/GxymLC2

 

………………………………………………………………….

 

2. At-Tibyan Collection

 

 

               อัต-ติบยาน (التبيان) เป็นกลุ่มนักศึกษาศาสนาที่เคยศึกษาอิสลามจากสถานศึกษาและผู้รู้ในโลกอาหรับ แล้วนำผลงานภาษาอาหรับของผู้รู้มาแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่แก่ผู้คนในโลกตะวันตก และทั่วไป โดยมุ่งเน้นนำเสนองานที่เกี่ยวกับการญิฮาดเป็นหลัก

                โปรแกรมรวบรวมงานของอัตติบยานนี้แบ่งเป็นหนังสือ(pdf)  บทความ  และกระทู้ที่น่าสนใจซึ่งเคยมีการนำเสนอในเว็บบอร์ดของอัตติบยานในขณะที่ทางกลุ่มมีเว็บไซต์ของตัวเอง(ทุกวันนี้ไม่มีเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว  แต่มีบล็อก tibyan.wordpress)  ตั้งแต่ดาวน์โหลดโปรแกรมนี้มาเมื่อสักเกือบสองปีที่แล้ว  จนถึงวันนี้  อัต-ติบยานได้ผลิตผลงานชิ้นใหม่ๆออกมาอยู่เรื่อย ๆ  ส่วนมากเป็นE-Booksซึ่งได้เพิ่มเติมเข้าไปในรายการหนังสือของโปรแกรมแล้ว  แต่ก็ไม่แน่ใจว่าขาดตกเล่มไหนไปหรือเปล่า  ถ้ายังไงไปตามดูได้ที่บล็อกเค้าก็ได้  เท่าที่ใส่มาในโปรแกรม รู้สึกจะมีประมาณ 52 เล่ม  ถือเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่และน่าสนใจมาก  เพราะหลายประเด็นเป็นเรื่องที่อาจช่วยให้เราคลี่คลายความสงสัยในประเด็นเกี่ยวกับการญิฮาดและเรื่องที่เกี่ยวข้องได้  อินชาอัลลอฮฺ

 

Download At-Tibyan Collection

http://www.uploadd.com/download.aspx?pku=19AB89DBC1T[4GYZQXGLH[AOROA966

http://www.easy-share.com/1903608316/At-Tibyan Collection.rar

http://www.fileflyer.com/view/MMS7wBk

 

สังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร : สิ่งดีแรกๆที่เหตุการณ์ฆ็อซซะฮฺมอบให้เรา

 
 

มันออกจะเป็นเรื่องน่าเศร้าสักหน่อย ที่จะต้องยอมรับว่าคำประกาศหยุดยิงระหว่างฮามาสและยะฮูดทำให้หัวใจหลายๆดวงของใครหลายๆคนแช่มชื่นขึ้น    ในความเป็นจริง  หัวใจทุกดวงของมุสลิมไม่ควรและไม่อาจจะรู้สึกผ่อนคลายหายห่วงได้เลย จนกว่าอัล-กุดส์และแผ่นดินทุกผืนที่เคยอยู่ใต้ร่มเงาของชะรีอะฮฺจะกลับมาสู่การปกครองของปวงบ่าวผู้สัจจริงของอัลลอฮฺอีกครั้ง

 

ถึงอย่างนั้น ในความเจ็บปวด และสูญเสียที่เรากำลังแบกรับ  ก็มีแง่งามบางมุมให้อุมมะฮฺนี้ได้ใคร่ครวญและเลือกเฟ้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์  อัลฮัมดุลิลลาฮฺ นั่นคือความเมตตาของอัรเราะฮฺมานที่เราต้องขอบคุณ  และ 1 ในบทเรียนที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงระยะเวลาแห่งบททดสอบนี้ก็คือความใฝ่รู้ในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์พี่น้องมุสลิมที่เติบโตขึ้นในความเอาใจใส่ของพวกเราหลาย ๆ คน โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่

 

                ไม่รู้เป็นเหมือนกันไหม  ที่ระยะเวลาประมาณเดือน1 ที่ผ่านมาจะได้รับE-Mailเฉลี่ยต่อวันสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้านี้อย่างพรวดพราด  แม้จำนวนไม่น้อยจะเป็นเนื้อหาที่ถูกส่งเวียนเข้ามาใน Mail Box อยู่หลายครั้งแล้ว แต่มันก็แสดงให้เห็นเจตนารมย์ที่ดีงามของพี่น้องที่ต้องการมีส่วนร่วมไม่ทางใดก็ทางหนึ่งต่อเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  แม้เมื่อมีการประกาศหยุดยิงก็ยังมีพี่น้องอีกจำนวนไม่น้อยที่พยายามติดตามข่าวสาร และวางแผนงานที่มุ่งจะดำเนินการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โลกมุสลิมอย่างต่อเนื่อง  โดนขยายขอบเขตออกไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั้งที่การญิฮาดกำลังดำเนินอยู่ และที่การกดขี่ขมเหงพี่น้องมุสลิมกำลังดำเนินไป 

                ฆ็อซซะฮฺได้สอนพวกเราว่า  การมีชีวิตอยู่โดยตัดขาดจากอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายไม่ใช่วิถีชีวิตที่มีเกียรติและควรสืบสานไว้อีกต่อไป

 

                ในฐานะคนไม่มีความรู้อะไรมากนัก  อาศัยครูพักลักจำเอาจากหน้าที่การงาน(ทั้งโดยแขนงวิชาที่เคยเล่าเรียน และงานเขียนที่รับผิดชอบก๊อกๆแก๊กๆอยู่ตามอัธยาศัย)รวมทั้งความสนใจและเจตนารมย์ส่วนตัวที่ทำให้ได้ติดตามข่าวสารเชิงสถานการณ์ของพี่น้องมุสลิมอยู่สักพักใหญ่ๆ   ขออาจเอื้อมเสนอแนะอะไรสักเล็กน้อยสำหรับตัวเองและพี่น้องที่ผู้อภิบาลของผองเราได้เมตตาให้เกิดความคิด-จิตสำนึกในอันที่จะผูกตัวเองเข้ากับความเป็นไปของประชาชาติผ่านการติดตามข้อมูลข่าวสารพี่น้องของเราจากช่องทางต่างๆ

 

  เจตนาแรกเริ่ม : นี่เป็นสิ่งแรกที่เราต้องพูดถึง  หากการติดตาม-เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของเราดำเนินไปบนความมุ่งหวังที่จะได้รับความพอใจจากผู้ทรงรอบรู้  เราก็จำเป็นต้องกระทำมันอย่างมีเป้าหมาย  และต้องเป็นเป้าหมายที่ใสสะอาดด้วย  ไม่ใช่แค่เพียงเป็นกระแสที่คนรอบข้างกำลังตื่นตัว  เราเลยจำเป็นต้องทำตามเขาบ้าง  เพราะเอาเข้าจริงแล้ว หากใครได้ตามข่าวสถานการณ์อยู่อย่างจริงจัง  คงจะทราบว่ามันเป็นงานที่ต้องใช้เวลา  และต้องใช้ความทุ่มเทค่อนข้างมาก  มันจึงเป็นเรื่องยอมไม่ได้ที่สุด ที่ความเหน็ดเหนื่อยนี้จะไม่มีผลใดใดในตราชั่งของเรา  ได้รับก็แต่ความคิดเห็นของผู้คนซึ่งก็มีทั้งหวานสุดจิต และขมสุดใจ  ยิ่งไปกว่านั้นเจตนาแรกเริ่มของเรายังมีผลต่อประสิทธิภาพของงานด้วย  การเผยแพร่ข้อมูล-ข่าวสารไม่ว่าจะโดยการพูด อ่าน หรือเขียน ของคนที่มีหัวใจดิ่งจมอยู่กับความเจ็บปวดของพี่น้อง  และรู้สึกอย่างสัจจริงว่าตนเองช่างไร้ค่าหากไม่สามารถจะทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือพวกเขา  มันย่อมต่างจากงานของคนที่ทำไปเพียงเพื่อจะแสดงให้ใครๆเห็นว่าชั้นก็ติดตามข่าวสารอยู่นะจ๊ะ

 

 ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล : สำหรับคนที่มุ่งหวังว่าการติดตาม-เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพี่น้องในดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะพี่น้องมุญาฮิดีน จะถูกนับเป็นการมีส่วนร่วมในการญิฮาดทาง1 เท่ากับว่าเขากำลังผูกเอาการติดตามข่าวสารนี้ไว้กับกิจการงานที่สูงส่งที่สุดของดีนนี้ นั่นคือการญิฮาด  ดังนั้นความเอาใจใส่ในข้อมูลยิ่งต้องมาก  ยิ่งต้องพิถีพิถัน  และยิ่งต้องละเมียดละไม

                ข้อมูลเชิงลึกเกียวกับวิถีทางการดำเนินงานของมุญาฮิดีนแต่ละกลุ่มเป็นอีกเรื่องที่เราควรจะทำความเข้าใจ  การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาต่างประเทศ อย่างอาหรับและอังกฤษจำเป็นค่อนข้างมากในกรณีนี้  เพราะเมื่อเปรียบแหล่งข้อมูลที่พูดถึงเรื่องนี้ในภาษาของเรากับในสองภาษาสากลที่ว่า  ก็เหมือนเปรียบปลาซิวกับปลาวาฬ  ที่สำคัญก็คือในความน้อยนิดของแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาไทย   เรายังพบเพียงการนำเสนอข้อมูล  แต่ไม่มีเวทีสำหรับ ถก  ในขณะที่เว็บบอร์ดของภาษาอาหรับและอังกฤษ การถกที่เป็นไปบนพื้นฐานของข้อมูล (ไม่ใช่อารมณ์) ได้ก่อให้เกิดความรู้ และบทเรียนปลีกย่อยมากมายเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ชนิดที่รายงานข่าวไม่สามารถจะให้ได้ 

ยิ่งไปว่านั้น การที่เราไม่ได้รู้ว่ามีประเด็นการถกอะไรบ้างเกิดขึ้นในความเป็นไปของเหตุการณ์1ๆ หรือของมุญาฮิดีนกลุ่มใดกลุ่ม1  ยังอาจทำให้เราประหลาดใจ หรือถึงขั้นไม่พอใจเมื่อได้ยินใครพูดถึงประเด็นที่นอกเหนือไปจากรายงานข่าวภาษาไทยที่เราเคยได้รับรู้    มีพี่น้องบางคนถึงขั้นรับไม่ได้เมื่อได้ยินพี่น้องคนอีกบางคนพูดถึงกลุ่มนักต่อสู้ที่เราเคยได้รับแต่ข้อมูลชื่นชมเชิดชูว่าเป็นมุญาฮิดีนผู้น่ายกย่อง  ในทำนองว่ามีแนวทางที่ไม่บริสุทธิ์พอสำหรับจะสถาปนาชะรีอะฮฺอันบริสุทธิ์ขึ้นบนหน้าแผ่นดิน  ทั้งที่ประเด็นนี้เป็นที่ถกกันอย่างกว้างขวางและนานนมมาแล้วในเว็บบอร์ดภาษาอังกฤษและอาหรับ

สำหรับแหล่งข่าวตะวันตกคงจะไม่พูดถึงอีกแล้วในที่นี้  เพราะคิดว่าคงเห็นตรงกันอยู่แล้ว  ว่าไม่มีอะไรที่ควรยึดถือเอาจริงเอาจังสำหรับสื่อของกุฟฟาร  ซึ่งเจ้าใหญ่ ๆ ก็ล้วนทำงานรับใช้ศัตรูของอิสลามทั้งสิ้น(แต่การติดตามข่าวจากแหล่งเหล่านี้ก็จำเป็นอยู่บ้าง  เพื่อจะทราบความบิดเบือนที่ถูกนำเสนอ  และหาทางตอบโต้ได้อย่างเหมาะสม) สรุปก็คือแหล่งข้อมูลของมุญาฮิดีนเป็นแหล่งที่เราควรเข้าถึงให้ได้มากที่สุดในภารกิจการติดตามข่าวนี้  ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับอาจดูเป็นเงื่อนไขที่สร้างข้อจำกัดให้แก่เราในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ว่า  แต่เชื่อเถอะ-หากเราเห็นความสำคัญและมุ่งหวังที่จะเดินไปสู่สิ่งนี้อย่างแท้จริง  อัลลอฮฺจะต้องเปิดทางให้เรา – อินชาอัลลอฮฺ

 

ความเกี่ยวพันระหว่างข่าวกับชีวิต : สิ่งที่น่ากลัวสำหรับคนที่ติดตามข่าวสารสถานการณ์อยู่เสมอก็คือความชินชา เพราะเราจะรู้สึกว่าเหตุการณ์เดิมๆได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า  เปลี่ยนไปบ้างก็แต่เวลาและสถานที่ ความจำเจทำให้บางครั้งเราก็ชาชินเกินไปที่จะเกิดความรู้สึกร่วม   การเสพย์ข้อมูลและนำเสนอของเราจึงกลายเป็นเพียงการติดตามและรายงานข่าว  ไม่ต่างอะไรจากที่ผู้สื่อข่าวในรายการโทรทัศน์ของกุฟฟารทำ  ซึ่งมันไม่ควรเกิดขึ้นเมื่อข่าวที่เรากำลังติดตามอยู่นั้นคือข่าวของคนที่เราเรียกอยู่เต็มปากว่า พี่น้องของเรา  เราควรจะมีความรู้สึกผูกพันอย่างลึกซึ้งกับเนื้อหาและบุคคลในข่าว  เป็นความผูกพันที่มีอิทธิพลต่อชีวิต  ต่อความคิด  และต่อหัวใจของเรา   สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในแผ่นดินญิฮาดทุกผืนต้องมีผลต่อเป้าหมายของชีวิตเรา   และนำไปสู่การใคร่ครวญหาวิถีทางที่จะทำอะไรได้มากกว่าการติดตามข่าว  ปล่อยให้น้ำตาหยดและแห้งลงในเวลาไม่กี่มากน้อย  เพียงเพื่อจะหยดและแห้งอีกครั้งเมื่อมีข่าวเหตุการณ์ใหม่เข้ามา

                วันนี้  อุมมะฮฺของเราต้องการคนอย่างอมีรค๊อฏฏ็อบ ที่เมื่อได้ดูภาพข่าวการต่อสู้ของพี่น้องมุสลิมในเชชเนีย  คำถามต่อตัวเองของเขาไม่ใช่ประโยคยอดนิยมของพวกเราที่ว่า ฉันจะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร?   หากเป็น ฉันจะไปถึงที่นั่นได้อย่างไร?’ !

 

 

                การติดตามข่าวสาร-ความเป็นไปของพี่น้องมุสลิมในวันนี้ เป็นภารกิจที่เราควรสถาปนาขึ้นไว้ในความเอาใจใส่ของตนเอง  เหตุการณ์ที่ฆ็อซซะฮฺนับเป็นจุดเริ่มที่ดีที่เราจะหันกลับมามีชีวิตอยู่อย่างผูกพันกับส่วนอื่นๆของเรือนร่างเสียที   หวังก็แต่ว่าการตื่นตัวครั้งนี้จะเป็นอะไรที่มั่นคงยืนนานในหัวใจและในชีวิตของพวกเรา  ไม่ใช่แค่ความรู้สึกร่วมชั่วคราวประด๋าวประเดี๋ยว  พอสื่อกระแสหลักเลิกส่งเสียงดัง  เราก็กลับไปนอนต่อ  จะตื่นอีกทีก็คงต้องรอให้ยะฮูดเปิดฉากถล่มพี่น้องระลอกใหญ่อีกรอบนั่นแหละ – นะอูซุบิลลาฮิมินซาลิก